คณิตศาสตร์กับเรขาคณิต

เป้าหมาย (Understanding Goal) : นักเรียนเกิดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหารูแบบต่างๆ โดยใช้ทักษะที่หลากหลาย เกิดมโนภาพในการมองแบบรูปในมิติต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองและถ่ายทอดกระบวนการคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้

Week3

เป้าหมาย ....นักเรียนมีความเข้าใจ และสามารถจำแนกชนิดของมุม เส้นตรงอีกทั้งสามารถวิเคราะห์รูปเรขาคณิตทั้ง 2 มิติ  3 มิติพร้อมอธิบายและให้เหตุผล
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
โจทย์  :
 - มุม
 - เส้นตรง, เส้นขนาน
 - ส่วนประกอบของรูปร่าง
 - แกนสมมาตร

Key Quarter :
   นักเรียนคิดว่ารูปร่างแต่ละรูปประกอบด้วยอะไรบ้าง?

เครื่องมือคิด :
  - Blackboard Share
  - Show and share
  - Brainstorms

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
  - ครู
  - นักเรียน

สื่อและการเรียนรู้ :
 - บรรยากาศในชั้นเรียน
 - เครื่องมือวัดครึ่งวงกลม
 - รูปร่างต่างๆ 
จันทร์
ชง
  - นักเรียนสังเกตรูปเรขาคณิตรูปร่างต่างๆ
  - ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “เห็นอะไรบ้าง, มีรูปร่างใดบ้างที่มีแกนสมมาตร”
เชื่อม
   ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแกนสมมาตร พร้อมกับหาแกนสมมาตรโดยการพับจากรูปเรขาคณิตที่สังเกตเห็น
ใช้
  นักเรียนสร้างรูปร่างต่างๆ ที่มีทั้งแกนสมมาตรและไม่มีแกนสมมาตรลงในสมุด
อังคาร
ชง
  - นักเรียนเล่นเกมสร้างแขนให้เป็นมุมต่างๆ (มุมแหลง, มุมฉาก, มุมป้าน, มุมตรง, มุมกลับ)
  - นักเรียนสังเกตมุมต่างๆ บนกระดาน พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “เห็นอะไร คิดว่ามีความสัมพันธ์อะไรกับท่าทางที่สร้างขึ้นเมื่อกี้”
เชื่อม
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับชนิดของมุมต่างๆ
ใช้
  นักเรียนทำใบงานเรื่องชนิดของมุม
พุธ
ชง
  - นักเรียนสังเกตไม้ครึ่งวงกลมและไม้โปรแทรกเตอร์
  - ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “คิดว่าอุปกรณ์เหล่านี้ใช้ประโยชน์อย่างไร เพราะอะไร”
เชื่อม
  ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเครื่องมือการวัดมุม และวิธีการใช้เครื่องมือ
ชง
  นักเรียนลองวัดองศาของมุม และบอกชนิดของมุ
เชื่อม
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับองศาของมุมและชนิดของมุม
พฤหัสบดี
ชง
  นักเรียนสังเกตมุมบนกระดาน พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “สังเกตเห็นอะไร คิดว่ามุมนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง”
เชื่อม
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับชื่อของมุมและส่วนประกอบของมุม
ใช้
  นักเรียนทำใบงานชนิดของมุม ชื่อของมุม แขนของมุมและจุดยอดของมุม
ภาระงาน
 - สนทนาถาม – ตอบเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
 - หาแกนสมมาตร

ชิ้นงาน
 - ใบงานเรื่องมุม
 - สร้างรูปร่างต่างๆ ที่มีทั้งแกนสมมาตรและไม่มีแกนสมมาตรลงในสมุด
 - ใบงานชนิดของมุม ชื่อของมุม แขนของมุมและจุดยอดของมุม

ความรู้
  นักเรียนมีความเข้าใจ และสามารถจำแนกชนิดของมุม เส้นตรงอีกทั้งสามารถวิเคราะห์รูปเรขาคณิตทั้ง 2 มิติ  3 มิติพร้อมอธิบายและให้เหตุผล
(ค 1.1 ป.4/1-2, 1.2 ป.4/1-2, 3.1 ป.4/1-5, 6.1 ป.4/1-3)
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  รับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่น และเป้าหมายในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ภาพกิจกรรม / ใบงาน





                     

1 ความคิดเห็น:

  1. จะดูเหมือนว่าเรื่องของ "มุม" จะเป็นเรื่องง่ายและเรื่องสนุกของพี่ๆ ป.4 เพราะตอนที่อยู่ป.3 พี่ๆ เคยเรียนมาแล้ว
    แล้วทุกคนก็สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ "แกนสมมาตร, ชนิดของมุม" โดยเฉพาะพี่ธาม
    ซึ่งในสัปดาห์นี้บรรยากาศภายในห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้มาก ...
    นอกจากจะมีเรื่องของแกนสมมาตรและชนิดของมุมแล้วคุณครูสอดแทรกเรื่องของการใช้เครื่องมือการวัดองศาของมุม
    ซึ่งพี่ๆ ตื่นเต้นมากเพราะไม่เคยเจอมาก่อน แต่พี่ๆ บอกว่าเคยได้ยินบ่อยๆ ว่า 90 องศา 45 องศาแต่ไม่รู้ว่าอะไร
    ในสัปดาห์นี้พี่ๆ เลยตื่นเต้นคุณครูให้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือการวัด หลายคนเตรียมมาพร้อมเรียบร้อยน่ารักมากค่ะ
    เมื่อได้ลงมือปฏิบัติจริงพี่ๆ ก็เริ่มเข้าใจมากขึ้นเสียงส่วนมากบอกว่าชอบเรื่องนี้มากที่สุดตั้งแต่เรียนมาสนุกดีค่ะ ...

    ตอบลบ